วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายการคู่เลิฟตะลอนทัวร์แวะชิมด้วงสาคูแช่นมสดแล้วทอดกรอบ


ด้วงสาคูแช่นมสดแล้วทอดกรอบ อร่อยมากๆ พิธีกรคนเก่งรายการคู่เลิฟตะลอนทัวร์ พี่หนูแหม่ม และพี่บ็อบบี้ได้แวะมาชิมที่หมู่บ้านบ่อนนท์ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช
เจ้าของบ้านปลื้มใจสุดๆค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ด้วงสาคูคุณภาพดี

ลักษณะด้วงสาคูที่ได้มาตรฐานการผลิตคือตัวโต สีขาวนวล หนังค่อนข้างเหนียว หากหนังเหนียวมากจะเป็นตัวที่อายุมากแล้ว เรียกว่า "แก่" นั่นเอง (แต่บางคนชอบรับประทานแบบนี้น่ะ)

สาคูไปอยู่ไหน

เกษตรผู้เลี้ยงด้วงสาคูกำลังเจอปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน เนื่องจากต้นสาคูที่ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงด้วงสาคูนั้นต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะตัดต้นได้ ไม่แน่ใจว่า มากกว่า อายุุของผู้เขียนหรือไม่ (30 ปี) ดังนั้นเกษตรกรรายใหม่จึงจำเป็นต้องหาวัตถุดิบทดแทน ซึ่งได้แก่ พืชในตระกูลปาล์ม มะพร้าว ลาน หรือพืชพวกที่มีเส้นใยและให้แป้งเป็นสารพลังงานก็ได้
ธารณ์ 089-7254364

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ด้วงสาคูขนาดโตเต็มวัย รับประทานได้



ด้วงสาคูที่มีขนาดโตเต็มวัย ประมาณ 180 - 200 ตัวต่อกิโลกรัม เป็นขนาดที่น่ารับประทาน เนื่องจากโตเต็มที่และหนังไม่เหนียวจนเกินไป ผู้ซื้อนิยมซื้อไปประกอบอาหาร เช่น ทอดสมุนไพร ผัดพริกเผา ผัดผลกะหรี่ คั่วเกลือ เป็นต้น ราคาตลาดหาากซื้อโดยตรงที่ฟาร์มประมาณ 200 - 300 บาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ซึ่งหากซื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช ราคาจะไม่แพงมากนัก เนื่องจากความพร้อมในการเลี้ยงเพราะใช้วัตถุดิบคือต้นสาคูจากท้องถิ่น แต่หากเป็นจังหวัดอื่นอาจใช้วัตถุดิบอื่นทดแทน เช่นทางปาล์ม หรือนำเข้าต้นสาคูจากแหล่งอื่นๆจึงทำให้ราคาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นผลก็คือราคาผลผลิตด้วงสาคูต่อกิโลกรัมก็สูงตามไปด้วย
ธารณ์ 089-7254364

ฟาร์มเลี้ยงด้วงสาคูขนาดเล็กสามารถจัดการได้ง่าย


ตัวย่างฟาร์มเลี้ยงด้วงสาคูที่จังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถจัดการฟาร์มได้ง่ายและสะดวก โดยรอบการผลิตเป็นสัปดาห์ ซึ่งให้ผลผลิตประมาณสัปดาห์ละ 30 - 40 กิโลกรัม นั่นคือต้องจัดการกับระบบการเพาะฟักตัวอ่่อนให้ได้ มิฉะนั้นผลผลิตจะไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเข้ามาศึกษาวิธีการเลี้ยง และการจัดการฟาร์ม โดยการแนะนำให้ทดลองเลี้ยงในครั้งแรกจำนวนไม่มากนัก เพื่อป้องกันความเสี่ยงและเมื่อสามารถเข้าใจชีววิทยาของด้วงสาคูดีแล้ว ก็ค่อยๆเพิ่มกำลังผลิตตามความสามารถของแต่ละคน
ธารณ์ (089-7254364)

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่างฟาร์มเลี้ยงด้วงสาคู

การเลี้ยงด้วงสาคู
เริ่มแรกผู้เลี้ยงรายใหม่ควรทดลองเลี้ยงด้วยตนเองและศึกษาข้อมูลต่างๆให้มากที่สุด และควรเลี้ยงในจำนวนเล็กน้อยก่อน หากพบว่าตนเองสามารถเลี้ยงได้แล้วจึงค่อยขยับขยายจำนวนให้เพิ่มขึ้นhttp://www.youtube.com/watch?v=5i6czGFykOA&feature=related

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ผลผลิตด้วงสาคู

 ด้วงสาคูที่ได้ขนาดแล้วจะถูกคัดแยก และแช่น้ำในกะละมังใบใหญ่ เพื่อรอส่งลูกค้า


เราแช่น้ำเพื่อให้ด้วงสาคูสำรอก (regurgitate) อาหารในลำไส้ของมันออกมา
ดังนั้นผู้บริโภคจึงมั่นใจได้เลยว่าลำตัวจะใส ละอาด และไม่มีกลิ่น
แหล่งที่มา: 4662016@gmail.com
0897254364

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

เชิญชวนบริโภคด้วงสาคู


ด้วงสาคูสะอาด ปราศจากเชื้อโรค

บรรจุอยู่ในกล่อง คุ้มครองผู้บริโภค

คุณภาพมาตรฐาน ปริมาณแน่นอน

ตั้งโต้อาหาร รับประทานได้หลายเมนู

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

การเกษตรเชิงพาณิชย์

หลายๆคนประสบความสำเร็จจากการทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ นั่นคือการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Sustainable Yield) ส่วนแรงงงานก็เป็นแรงงานในครัวเรือน ทุกคนมีงานทำ ไม่ต้องลำบากออกไปรับจ้างต่างถิ่น เกิดความรักและสามัคคีในครอบครัว ด้านผลตอบแทนที่ได้รับมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากครอบครัวสามารถเลี้ยงตัวเองได้ เศรษฐกิจในชุมชนมีความมั่นคง ส่งผลให้เกิดเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศด้วย
การทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ ต้องยึดหลัก คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ ไม่ควรเห็นแก่รายได้ที่มากเกินไปเพื่อทำลายทรัพยากรธรรมชาติ แต่หากนำสิ่งที่มีหรือเหลือใช้มาประยุกต์เข้ากับอาชีพของชุมชนได้ โดยไม่ทำกินแบบตามมีตามเกิดแต่อาศัยภูมิปัญญา และเทคโนโลยีช่วย จึงจะประสบความสำเร็จ

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555